ปัจจุบันช่องทางในการลงทุนนั้นมีมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรุปแบบย่อมมีความเสี่ยงเหมือนกัน แต่ความเสี่ยงจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับวิธีที่เราเลือกลงทุน และสิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่มีส่วนกำหนดความมากน้อยของความเสี่ยงนั่นก็คือ ความรู้ความเข้าใจของนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรทุกคน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่นักลงทุนทุกคนควรมีก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน ในทีนี้เราจึงควรศึกษาปัจจัยหรือข้อกำหนด การเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดความเคลื่อนไหวในกลุ่มตลาดที่เราลงทุน เพิ่มลดความเสี่ยงในการลงทุนไปด้วย บทความนี้เราจะมาศึกษา 5 ปัจจัยหลักๆที่จะทำให้ตลาดซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเกิดความเคลื่อไหว โดยจะแบ่งปัจจัยต่างๆออกเป็น 5 ปัจจัย ประกอบด้วยปัจจัยต่อไปนี้
1.การเติบโตของเศรษฐกิจ
การที่เศรษฐกิจในประเทศนั้นมีการเติบโตไปในทางที่ดีแล้ว จะแสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจ การมั่นคง ความเข้มแข็งของประเทศนั้นๆ การขยายตัวของเศรษฐกิจในที่นี้รวมถึงการค้า การลงทุน หรือการควบรวมกิจการเล็กหรือใหญ่ภายในประเทศนั้นๆด้วย
2.นโยบายทางการเมืองของรัฐบาล
การประกาศนโยบายของรัฐบาลนั้นมีผลต่อการสร้างความน่าเชื่อถือแก่นักลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะถ้ามีการประกาศนโยบายที่มีผลทางด้านลบแล้ว นักลงทุนย่อมจะขาดความเชื่อมั่น และส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงไปได้มาก หรือค่าเงินอ่อนค่านั่นเอง
3.การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย
การปรับอัตราดอกเบี้ยที่มาจากธนาคารกลางของประเทศนั้น เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเคลื่อยไหวในตลาด Forex เนื่องจาก เมื่อมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแล้ว ปริมาณเงินในระบบก็จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามลำดับ ตามหลักของอุปสงค์อุปทาน หากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจจะลดลงแต่มีความต้องการเงินมากขึ้น หรือเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลงปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจก็จะเพิ่มขึ้นแต่มีความต้องการเงินสกุลนั้นลดลง ย่อมส่งผลต่อค่าสกุลเงินของประเทศนั้นๆด้วย
4.การค้าและการลงทุนในประเทศ
หาประเทศใดมีการค้าและการลงทุนที่ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ความต้องการของเงินสกุลหลักของประเทศนั้นๆก็จะมากขึ้นไปด้วย ทำให้ในตลาดซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน เงินสกุลนั้นมีราคาสูงขึ้น
5.ภาวะเงินฝืด/เงินเฟ้อในประเทศ
การที่ประเทศแต่ละประแทศจะเกิดภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืดแล้ว ส่วนใหญ่มาจากการใช้นโยบายทางการเงินของธนาคารกลาง ธนาคารกลางจะเลือกใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ถ้าภาวะเศรษฐกิจตอนนั้นซบเซา โดยการลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้ประชาชนได้นำเงินออกไปใช้จ่ายในระบบมากขึ้น ซึ่งเหตุผลนี้ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้เกิด